ลักษณะการประกอบธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทย่อย และกิจการที่ควบคุมร่วมกัน (“กลุ่มบริษัท”)
บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “TPCH”) ประกอบธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ และให้บริการสนับสนุน การดำเนินการของบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุมร่วมกันของบริษัทฯ โดยมีเงินลงทุนในบริษัทที่มีแผนดำเนินการผลิตและ จำหน่ายไฟฟ้าจากชีวมวลจำนวน 11 บริษัท บริษัทที่มีแผนดำเนินการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยโดยมี การจัดการขยะแบบผสมผสานจำนวน 1 บริษัท และผลิตและจำหน่าย Refuse derived fuel (RDF) จำนวน 1 บริษัทและจะ มีรายได้หลักเป็นเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนถือหุ้นในบริษัทอื่นและมีรายได้อื่นๆ จากการให้บริการสนับสนุนการ ดำเนินการของบริษัทในกลุ่ม เป็นต้น
โดย ณ วันที่ 1 มีนาคม 2564 มีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์จำนวน 10 โรง ได้แก่
- CRB เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556
- MWE เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558
- MGP เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559
- TSG เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2559
- PGP เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560
- SGP เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561
- PTG เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563
- TPCH5 เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- TPCH1 เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563
- TPCH2 เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564
โดยในปี 2563 TPCH ได้รับเงินปันผลจากบริษัทย่อยในเครือรวม 281.71 ล้านบาท ดังนี้
นโยบายการลงทุนของบริษัทฯ
บริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานประเภทต่างๆ ซึ่งถือเป็นการ ลงทุนในประเภทธุรกิจหลัก (Core Business) ของบริษัทฯ โดยปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน ที่มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก (SPP) กำลังการผลิตไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ PTG, โรงไฟฟ้าชีว มวลขนาดเล็กมาก (VSPP) กำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ได้แก่ CRB, MGP, TSG, MWE, PGP, SGP, TPCH1, TPCH2, TPCH5, PBB และ PBM โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยโดยมีการจัดการขยะแบบผสมผสาน ได้แก่ SP และโรง ผลิตเชื้อเพลิง Refuse derived fuel (RDF) ได้แก่ PA ซึ่งบริษัทฯ จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ด้านการเงิน เทคโนโลยี บุคลากร เชื้อเพลิง กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการที่บริษัทฯ เข้าลงทุนมี ศักยภาพที่จะสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ บริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ในการเข้าลงทุนในแต่ละบริษัท บริษัทฯ อาจลงทุนเองทั้งหมดหรือร่วมลงทุนกับพันธมิตรเพื่อให้การดำเนินการโรงไฟฟ้าได้รับประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะติดตาม กำกับ ดูแล บริษัทย่อยที่ได้เข้าไปลงทุนทั้งในด้านการบริหาร (Management) และการดำเนินการ (Operation) อย่างชัดเจน โดยมีการแต่งตั้งกรรมการตัวแทนตามมติกรรมการของบริษัท ฯ เข้าไปเป็นกรรมการในแต่ละบริษัทย่อยที่เข้าไปลงทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า บริษัทย่อยจะดำเนินธุรกิจตามนโยบาย เดียวกันกับบริษัทฯ ได้มีการกำหนดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เข้าไปสอบทานการทำงานและการปฎิบัติตาม นโยบายต่างๆ ของแต่ละบริษัทย่อยและให้นำมารายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังจัดให้มี ระบบงานที่สามารถสนับสนุนการประสานงานและการรายงานที่เป็น daily operation ระหว่างทีมผู้บริหารในด้านการปฎิบัติ การของบริษัทย่อยและบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยบริษัทฯ มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่ สามารถแสดงผลการทำงาน real-time แต่ละ site งาน มายังผู้บริหารของบริษัทฯ ได้
บริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานประเภทต่างๆ ซึ่งถือเป็นการ ลงทุนในประเภทธุรกิจหลัก (Core Business) ของบริษัทฯ โดยปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการที่ควบคุม ร่วมกัน ที่มีแผนดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก (SPP) กำลังการผลิตไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ PTG, โรงไฟฟ้าชีว มวลขนาดเล็กมาก (VSPP) กำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ได้แก่ CRB, MGP, TSG, MWE, PGP, SGP, TPCH1, TPCH2, TPCH5, PBB และ PBM โครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยโดยมีการจัดการขยะแบบผสมผสาน ได้แก่ SP และโรง ผลิตเชื้อเพลิง Refuse derived fuel (RDF) ได้แก่ PA ซึ่งบริษัทฯ จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) ด้านการเงิน เทคโนโลยี บุคลากร เชื้อเพลิง กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการที่บริษัทฯ เข้าลงทุนมี ศักยภาพที่จะสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ บริษัทฯ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ในการเข้าลงทุนในแต่ละบริษัท บริษัทฯ อาจลงทุนเองทั้งหมดหรือร่วมลงทุนกับพันธมิตรเพื่อให้การดำเนินการโรงไฟฟ้าได้รับประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะติดตาม กำกับ ดูแล บริษัทย่อยที่ได้เข้าไปลงทุนทั้งในด้านการบริหาร (Management) และการดำเนินการ (Operation) อย่างชัดเจน โดยมีการแต่งตั้งกรรมการตัวแทนตามมติกรรมการของบริษัท ฯ เข้าไปเป็นกรรมการในแต่ละบริษัทย่อยที่เข้าไปลงทุน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า บริษัทย่อยจะดำเนินธุรกิจตามนโยบาย เดียวกันกับบริษัทฯ ได้มีการกำหนดให้หน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เข้าไปสอบทานการทำงานและการปฎิบัติตาม นโยบายต่างๆ ของแต่ละบริษัทย่อยและให้นำมารายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ นอกจากนี้ยังจัดให้มี ระบบงานที่สามารถสนับสนุนการประสานงานและการรายงานที่เป็น daily operation ระหว่างทีมผู้บริหารในด้านการปฎิบัติ การของบริษัทย่อยและบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยบริษัทฯ มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่ สามารถแสดงผลการทำงาน real-time แต่ละ site งาน มายังผู้บริหารของบริษัทฯ ได้
หลักเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนของบริษัทฯ มีดังนี้
1. บริษัทฯ จะลงทุนในโครงการที่คาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนของโครงการ (IRR) ขั้นต่ำร้อยละ 10 รวมทั้ง โครงการที่ให้ผลตอบแทนทางการเงินอื่นซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯสำหรับการลงทุน ในโครงการอื่นที่บริษัทฯ ซื้อมาจากหรือเข้าร่วมลงทุนกับผู้ที่พัฒนาโครงการนั้น ผลตอบแทนจากการลงทุน ดังกล่าวที่บริษัทฯ จะได้รับนั้นอาจเปลี่ยนแปลงลดลงจากอัตราผลตอบแทนข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมูลค่าเงิน ลงทุนที่บริษัทฯ ซื้อมาเป็นปัจจัยสำคัญ
2. บริษัทฯ จะลงทุนในโครงการที่มีคู่สัญญาที่มีความน่าเชื่อถือและมีจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ
3. บริษัทฯ จะลงทุนในโครงการที่บริษัทฯ ได้ศึกษา และสำรวจปริมาณเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอสำหรับโครงการ โรงไฟฟ้าชีวมวลและสามารถจัดหาเชื้อเพลิงได้ในราคาที่ทำให้บริษัทฯยังได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ในข้อ 1
4. บริษัทฯ จะลงทุนในโครงการที่สามารถจัดหาอุปกรณ์หลักและอะไหล่ต่างๆ ได้ในอัตราต้นทุนที่สมเหตุสมผล และสามารถจัดให้มีการบำรุงรักษาภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
5. บริษัทฯ จะลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6. บริษัทฯ จะเป็นผู้พัฒนาโครงการด้วยตนเองในกรณีที่โครงการที่จะลงทุนมีขนาดของการลงทุนเหมาะสมกับ ศักยภาพของบริษัทฯ
7. ในกรณีที่เป็นโครงการที่บริษัทฯ จะต้องร่วมลงทุนกับผู้ลงทุนอื่น บริษัทฯ จะเลือกลงทุนในโครงการที่มี ศักยภาพและผู้ร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าวจะต้องมีนโยบายการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกัน
ปัจจุบันบริษัทฯ มีโรงไฟฟ้า 13 แห่ง ที่ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้ว
(“Commercial Operation Date” “COD”) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
บริษัท ช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ จำกัด (CRB)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 15 มีนาคม 2556
บริษัท แม่วงศ์ เอ็นเนอยี่ จำกัด (MWE)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.0 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 8.0 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2558
บริษัท มหาชัย กรีน เพาเวอร์ จำกัด (MGP)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 8.0 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 8 เมษายน 2559
บริษัท ทุ่งสัง กรีน จำกัด (TSG)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 3 ตุลาคม 2559
บริษัท พัทลุง กรีน เพาเวอร์ จำกัด (PGP)
-
กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์
-
กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
-
ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
-
เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2560
บริษัท สตูล กรีน เพาเวอร์ จำกัด (SGP)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561
บริษัท ปัตตานี กรีน จำกัด (PTG)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 23 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 21 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2563
บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 1 จำกัด (TPCH1)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563
บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 2 จำกัด (TPCH2)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 9.2 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564
บริษัท ประชารัฐชีวมวล บันนังสตา จำกัด (PBB)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 3.0 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 2.85 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 30 มีนาคม 2566
บริษัท ทีพีซีเอช เพาเวอร์ 5 จำกัด (TPCH5)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 6.3 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 6.3 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด (SP)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 8.0 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 30 ธันวาคม 2564
บริษัท ประชารัฐชีวมวล แม่ลาน จำกัด (PBM)
- กำลังการผลิตติดตั้ง 3.0 เมกะวัตต์
- กำลังการผลิตเสนอขาย 2.85 เมกะวัตต์
- ใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ FiT (Feed in Tariff)
- เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2566