Corporate Social Responsibility

Home 9 Corporate Social Responsibility
Corporate Social Responsibility
facesheet

นโยบายภาพรวม

บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี และยึดหลักจริยธรรมควบคู่ไปกับการใส่ใจสังคมและดูแลสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตั้งแต่ผู้ถือหุ้นพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ตลอดจนสังคมวงกว้าง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบข้าง เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข โดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการเป็น “โรงไฟฟ้าของชุมชน” ด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและยึดมั่นในการประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืนกับคนในชุมชน โดยให้ความสำคัญในเรื่องการรักษามาตรฐานระเบียบปฏิบัติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ความมั่นใจกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าว่าสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ โดยไม่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษต่างๆ เช่น ควัน เสียง และฝุ่น เนื่องจากบริษัทฯ เลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อลดปริมาณควัน เสียง และฝุ่น ให้น้อยที่สุด ซึ่งให้ผลที่ดีกว่ามาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรอบพื้นที่ที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรงบประมาณสมทบเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนต่างๆ ในพื้นที่และการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชมอย่างยั่งยืนต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนความรู้ ความชำนาญต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป

การดำเนินงาน

การดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัทฯ และบริษัทย่อยได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชน และสังคมบริเวณรอบโรงไฟฟ้า (CSR in process) โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนในการเป็น “โรงไฟฟ้าชุมชน” ซึ่งจะอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข โดยกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของบริษัทย่อยมีขั้นตอนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า นอกจากน้บี ริษทั ฯ และบริษทั ย่อยให้ความสำคัญกับการต่อต้านทุจริตเพื่อเปน็ แบบอย่างที่ดีของสังคม และดำเนินกิจการด้วยหลักจริยธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะส่งผลประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเชิงธุรกิจและเป้าหมายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯและบริษัทย่อยมีการกำหนดแนวทางเป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้บริหารนำไปปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นใน 5 ข้อหลักได้แก่

1. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
คณะกรรมการบริษัท มีมติพิจารณาอนุมัตินโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในการประชุมครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในการไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยการกำหนดแนวทางเป็นรูปธรรมชัดเจนได้แก่ กำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสมและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบและเหมาะสม

2. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีแนวทางปฏิบัติต่อแรงงานด้วยความยุติธรรม โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม ตรงเวลา และเป็นธรรมให้แก่พนักงาน รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานโดยมีการจัดฝึกอบรมงานด้านอื่นๆ ของโรงไฟฟ้า นอกเหนือจากงานประจำ ให้สามารถเข้าใจถึงการทำงานใน แต่ละด้านและสามารถนำมาบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

3. การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีนโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาชุมชน และเมืองอย่างยั่งยืน โดยกำหนดความรับผิดชอบต่องานด้านพัฒนาชุมชน และสังคมออกเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่

การพัฒนาชุมชนและสังคมระดับพื้นที่

ประการที่1 ทำให้ชุมชนมีพลังงานไฟฟ้าใช้ในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ประการที่ 2 ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน กำหนดให้ผู้รับจ้างดำเนินการและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า คัดเลือกพนักงานจากชุมชนใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 90%-100% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในแต่ละโครงการ เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้โอกาสแก่คนในชุมชนในการสร้างรายได้ นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้คือขี้เถ้า ซึ่งมีสารฟอสฟอรัสเป็นจำนวนมาก และสามารถนำมาใช้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการเกษตรของชุมชนได้บริษัทฯ จึงได้มอบขี้เถ้าให้แก่ชุมชนเพื่อนำไปผลิตปุ๋ยชีวภาพ โดยมีการจัดทำโครงการให้ความรู้แก่ชุมชนโดยรอบในเรื่องการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากขี้เถ้าทำให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อลดต้นทุนทางการเกษตรได้

ประการที่ 3 ลดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐาน และนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาความเจริญให้แก่ท้องถิ่น

ประการที่ 4 ก่อให้เกิดความเจริญให้กับชุมชน พัฒนาความรู้พัฒนาอาชีพ เป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้แก่ ประชาชนในท้องถิ่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน โดยเปิดให้อาจารย์ นิสิตนักศึกษา หน่วยงานราชการ และโรงไฟฟ้ายังให้ความช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชนต่างๆ พัฒนาหมู่บ้าน การมอบสื่อการเรียนการสอน เช่น คอมพิวเตอร์ เงินทุนการศึกษา และสร้างการเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆให้กับชุมชน และสังคม

การพัฒนาสังคมระดับประเทศ

สร้างความมั่นคงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศเพิ่มขึ้น เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และก่อให้เกิดความเจริญให้แก่ประเทศ

4. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากขั้นตอนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ บริษัทฯ จึงมีการกำหนดนโยบายเพื่อลดผลกระทบทางมลพิษจากกระบวนการผลิต ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับคนในชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ในทุกมิติดังนี้

การควบคุมคุณภาพอากาศ ทั้งภายในโรงงานและภายนอกโรงงานให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยพิจารณาได้จากค่าผลการตรวจวัดปล่องระบายควันทุกปี ค่าที่ตรวจวัดได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

มีระบบควบคุมมลพิษการจัดการฝุ่นละออง โดยมีการติดตั้งระบบดักจับฝุ่นแบบเปียกเพื่อลดฝุ่นที่จะปล่อยออกสู่ภายนอก และใช้ระบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ ที่สามารถดักฝุ่นละออง ที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอนออกจากกระแสก๊าซได้ประมาณร้อยละ 99.5 ทำให้สามารถควบคุมฝุ่นละออง ที่ปล่อยออกจากปล่อง ได้อย่างมีคุณภาพสูง

การควบคุณคุณภาพของระดับเสียงทั้งภายในและภายนอกโรงไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

การควบคุมการจัดการน้ำไม่ให้เกิดมลพิษ และมีการนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ (Reuse) โดย โรงไฟฟ้าของ บริษัทย่อย จะนำน้ำดิบจากแหล่งธรรมชาติ ที่ได้ดำเนินการสร้างบ่อเก็บน้ำไว้เมื่อตอนเริ่มโครงการมาผลิต ปรับปรุงคุณภาพ และป้อนให้กับหม้อไอน้ำ(Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำป้อนให้กับกังหันไอน้ำขับเคลื่อน Generator ผลิตไฟฟ้า ไอน้ำที่ใช้ในการหมุนกังหัน

การดำเนินธุรกิจมีผลกระทบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ถ้ามี)

-ไม่มี-

กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (after process)

นอกจากการดำเนินธุรกิจตามปกติของโรงไฟฟ้าแล้ว บริษัทฯ ยังมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR after process) ซึ่งเป็นการสนับสนุนชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงที่ตั้งโรงไฟฟ้าในการทำกิจกรรมต่างๆ และเพื่อเป็นการตอบแทนผลการดำเนินงานคืนสู่สังคมด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง

 

โครงการกองทุนชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

เพื่อรับผิดชอบในส่วนของผลกระทบของชุมชนรอบข้างโรงไฟฟ้า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงได้กำหนดนโยบายจัดตั้งกองทุนชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยทุกหน่วยการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามารผลิตได้นั้นโรงไฟฟ้าจะสมทบเงินให้แก่กองทุนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 1 สตางค์ต่อหน่วยผลิตไฟฟ้าตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเงินกองทุนนี้ชุมชนสามารถนำไปพัฒนาชุมชนในส่วนต่างๆ ได้ต่อไป นอกจากนี้ในทุกๆปี เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาอาชีพ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

โครงการกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์รอบโรงไฟฟ้า

บริษัทฯ และบริษัทย่อย ให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า จึงจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมการให้ความรู้ ทั้งมอบทุนการศึกษา มอบคอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนต่างๆรอบโรงไฟฟ้า อีกทั้งร่วมพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสังคมทั้งทางด้าน ศิลปะ วัฒนธรรม และนวัตกรรมอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาชุมชน ยามประสบภัยธรรมชาติ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสังคม

ภาพ โรงไฟฟ้า TSG และ CRB มอบถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครศรีธรรมราช


ภาพ มอบคอมพิวเตอร์ ให้วิทยาลัยเทคนิคแม่วงก์ จ.นครสวรรค์


ภาพ ร่วมปลูกต้นไม้ให้ชุมชน จ.ประจวบคีรีขันธ์

แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น

บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯและบริษัทย่อยมีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทย่อย และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบและเหมาะสม บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และคณะกรรมการบริษัท มีมติพิจารณาอนุมัตินโยบายการต่อต้านการทุจริต และคอร์รัปชันในการประชุมกรรมการครั้งที่ 1/2557 วันที่ 20 มกราคม 2557 โดยมีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

  1. คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  2. พนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆหากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้
  3. บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่แจ้งเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
  4. ผู้ที่กระทำคอร์รัปชั่น เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
  5. บริษัทฯ และบริษัทย่อยตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และบริษัทย่อย หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น
  6. บริษัทฯ และบริษัทย่อยมุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าการคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐหรือภาคเอกชน
  7. บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะไม่ให้การสนับสนุนหรือความช่วยเหลือไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับองค์กรใดๆ ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการทุจริตคอร์รัปชั่น